Eye exam procedure by optometrist
นักทัศนมาตร คือใคร มีหน้าที่อะไร?
ร้านแว่นตาที่มีนักทัศนมาตร ดีอย่างไร (Optometrist, O.D.) หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า “หมอสายตา” คือผู้ที่จบหลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์บัณฑิต (Doctor of Optometry) หลักสูตร 6 ปี และได้รับใบประกอบวิชาชีพ ที่เรียกว่า “หนังสืออนุญาติให้ทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์” เป็นผู้ที่มีหน้าที่หลักในการตรวจความผิดปกติของการมองเห็น แก้ไขปัญหาสายตาด้วยเลนส์ประเภทต่าง ๆ และเลือกอุปกรณ์ช่วยในการมองเห็นของคนที่เป็นสายตาเลือนราง ตรวจสอบและทดสอบระบบการเคลื่อนไหวของดวงตา (Ocular Motility) ตรวจสอบการทำงานของตาร่วมกันทั้งสองข้าง (Binocular Vision) การตรวจหาความผิดปกติของฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนของลูกตา ตรวจคัดกรองโรคตาเพื่อส่งต่อแพทย์ตามความเหมาะสม การทำ Vision therapy ใช้เครื่องมือพิเศษที่ไม่ใช่การผ่าตัด เพื่อแก้ไขความผิดปกติของการทำงานของกล้ามเนื้อตา เป็นต้น ทั้งนี้งานของทัศนมาตรนอกจากจะอยู่ใน คลินิกทัศนมาตรเพื่อตรวจสายตาและแก้ปัญหาด้วยเลนส์แล้ว (เรายังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดคลินิก จึงยังต้องทำในรูปแบบของร้านแว่นไปก่อน) ยังปฏิบัติงานในโรงพยาบาลร่วมกับจักษุแพทย์ทั้ง 3 ระดับ
- ตรวจคัดกรองโรคตา แก้ปัญหาการมองเห็นที่ไม่ได้เกิดจากปัญหาโรคตา
- แก้ไขปัญหาการมองเห็น ภายหลังทำหัตถการและการรักษาโรคทางตาแล้ว
จัดการและแนะนำอุปกรณ์ในการช่วยมองสำหรับผู้พิการทางสายตา(สายตาเลือนราง)
ขั้นตอนที่ 1 History taking
ขั้นตอนแรกถือว่าสำคัญมาก เพราะคือการสอบถามถึงปัญหาการมองเห็นที่มี ในทุกแง่มุม เพื่อนำเอามาตั้งสมมติฐาน ว่าเกิดจากสาเหตุใด โดยบางคนอาจจะเกิดปัญหาเดียว บางคนมีหลายปัญหา ซึ่งการแก้ไข จะแก้ทีละปัญหา ซึ่งขั้นตอนนี้เราเรียกการซักประวัติ ซึ่ง นักทัศนมาตร อย่างเราจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดปัญหาการมองเห็นจากตรงไหน บางครั้งปัญหานั้นมาจากสาเหตุอื่นๆเช่น การทานยารักษาโรคประจำตัว การมีโรคประจำตัว หรือประวัติการได้รับอุบัติเหตุ เราก็ต้องนำปัจจัยดังกล่าว มาร่วมในการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น
ขั้นตอนที่ 2 Preliminary
ต่อมา เมื่อซักประวัติแล้วจากขั้นตอนที่ 1 นักทัศนมาตรจะทำการตรวจ Preliminary เพื่อทดสอบสมมติฐานเบื้องต้น แบบกว้างๆก่อนในขั้นตอนนี้ นักทัศนมาตร ตรวจหลายอย่าง เพื่อหาปัจจัยทางกายภาพที่อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติ ปัจจัยที่เป็นปัจจัยหลักเช่น Refractive error นักทัศนมาตรจะทดสอบด้วยการทำการทดสอบการมองเห็น (VA Test) หรือ หากนักทัศนมาตรพบจากขั้นตอนซักประวัติว่าอาจจะมีปัญหาจากกล้ามเนื้อตา นักทัศนมาตรจะทำการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อตาแบบเบื้องต้นดูก่อน (Cover Uncover, Alternate Cover) และยังมีการตรวจการทำงานและทดสอบระบบประสาทการมองเห็น (RAPD) ยังมีการทดสอบย่อยๆอย่างอื่นอีกหลายอย่าง เพื่อทำให้สมมติฐานที่วางไว้กว้างๆ แคบลง
ขั้นตอนที่ 4 Subjective refraction
ก่อนที่เราจะดำเนินการแก้ปัญหาอื่น เช่นกล้ามเนื้อตา ก่อนจะแก้ปัญหานั้นได้ เราต้องทำให้คนไข้ อยู่ในภาวะที่ไม่มีปัจจัยอื่น ที่จะทำให้ฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อตา นั้นได้รับผลกระทบ เราต้องจัดการให้สายตากลายเป็นปกติก่อน คือจะไม่ให้มีการเพ่งเกิดขึ้น (จำเป็นอย่างมากที่ต้องใช้ห้องวัดสายตาระยะ 6 เมตร หรืออุปกรณ์ช่วยทดระยะที่ได้มาตรฐาน) เมื่อถึงช่วงที่จะทำการตรวจกล้ามเนื้อตาซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์ปัญหาทำได้ชัดเจนมากขึ้น การตรวจในขั้นตอนนี้ จะเป็นการหาค่าสายตาแบบ หาค่าสายตาที่ชัดที่สุดทีละข้างก่อน (Momocula Visual Acuity) และเนื่องจากเรามีสองตาใช้งานร่วมกัน จุดประสงค์หลักคือ ต้องทำให้สองตามีความชัดเท่าๆกัน จึงต้องมีการทำ Binocula Visual Acuity โดยการวัดสายตาแบบเปิดตาทั้งสองข้าง โดยใช้ปริซึมแยกภาพหรือใช้แบบ Polarize แยก เพื่อให้คนไข้เห็นได้ง่ายขึ้นว่าข้างไหนชัดกว่า ขั้นตอนนี้จำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำงานในคลินิก เพราะอุปกรณ์อย่าง Phoropter ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย หลังจากได้ค่าสายตาที่เกิดขึ้นกับเราจริงๆ ด้วยการตรวจโดยใช้อุปกรณ์เฉพาะอย่าง Phoropter ซึ่งหากนักทัศนมาตรใช้ จะสามารถตรวจและวิเคราะการมองเห็นได้ ทั้งจากปัญหา Refractive error, Binocula function error, Accommodative error ซึ่งหากไม่ใช่นักทัศนมาตร จะไม่ทราบถึงปัญหา
ขั้นตอนที่ 5 Binocula function error test
และในขั้นตอนนี้ เรายังคงต้องใช้ Phoropter ในการตรวจ หลังจากได้ค่าสายตาที่น้อยที่สุดที่ชัดที่สุด และ เท่ากันทั้งสองข้างแล้ว ในขั้นตอนนี้ เราจะมาตรวจการทำงานระบบกล้ามเนื้อตา เพื่อดูว่าการทำง่นนั้นปกติหรือไม่ คือ ปกติการมองเห็นแบบสองตาของเราจะมีการควบคุมการมองให้สองตามองไปที่จุดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นระยะไกล หรือระยะใกล้ การมองตามวัตถุที่เคลื่อนที่แต่ตัวอยู่นิ่ง หรือการมองวัตถุอยู่นิ่งแต่ตัวเคลื่อนที่ ในแต่ละเหตุการณ์ การควบคุมกล้ามเนื้อตาต้องทำให้สอดคล้องเพื่อทำให้สองตามองภาพที่จุดเดียวกัน และหากเกิดความผิดปกติ จะมีอาการเช่น ทำให้การมองเห็นในบางมุมมองเห็นภาพซ้อน ปวดหัวเวลาอ่านหนังสือระยะใกล้นาน อาจจะมีปัญหาเรื่องมองไกลไม่ชัดทั้งที่ค่าสายตาถูกต้องแล้ว คนที่ทำงานระยะใกล้แล้วปวดหัวเป็นประจำทำให้คิดว่าเป็นการปวดไมเกรน ซึ่งหากมาพบนักทัศนมาตร จะสามารถแยกได้ว่าเกิดจากปัญหากล้ามเนื้อตา หรือเป็นไมเกรนจริงๆ แต่ต้องแจ้งไว้ที่นี้เลยว่า การตรวจขั้นตอนนี้ไม่ใช่การตรวจแบบ Routine จะทำให้เฉพาะสงสัยว่ามีปัญหาจากการตรวจพบในขั้นตอน Preliminary test หรือจากการซักประวัติขั้นแรก เพราะการตรวจกล้ามเนื้อตา อาจจะทำให้เกิดอาการเวียนหัว ตาลาย ปวดตา สำหรับคนที่ต้องการตรวจ หรือคิดวส่ามีปัญหากล้ามเนื้อตา ควรพาคนมาด้วย เผื่อว่าขากลับอาจจะปวดตา ตาลาย
ขั้นตอนที่ 6 Accommodative responce test
และในขั้นตอนนี้ เรายังคงต้องใช้ Phoropter ในการตรวจ หลังจากได้ค่าสายตาที่น้อยที่สุดที่ชัดที่สุด และ เท่ากันทั้งสองข้างแล้ว ในขั้นตอนนี้ เป็นการทดสอบระบบโฟกัส โดยทั่วไป ดวงตาจะมีการปรับโฟกัส เมื่อมีการปรับระยะ ไกลใกล้ โดยกล้ามเนื้อทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนรูปร่างของเลนส์ และจะถูกกระตุ้นด้วยขนาดของภาพที่ตกลงบนจอประสาทตา แต่เมื่ออายุถึงระดับนึง เลนส์ตาจะมีความแข็งขึ้น ยืดหยุ่นได้น้อย ทำให้การปรับโฟกัสทำได้ยากขึ้น และขั้นตอนนี้จึงทำให้สามารถรู้ได้ว่า ระบบโฟกัสของเรานั้นที่เสื่อมนั้น หายไปมากเท่าไหร่ และจะต้องชดเชยเท่าไหร่ นอกจากนั้นในคนปกติ หากมีความผิดปกติของระบบโฟกัส เช่นในการตรวจได้ค่าที่นอกเหนือจากค่ามาตรฐาน ยังนำไปใช้วิเคราะห์ร่วมกับค่าอื่นๆที่ตรวจได้ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด
ขั้นตอนที่ 7 Trial
หลังจากเราได้ค่าสายตาและค่าต่างๆที่จะนำมาร่วมวิเคราะห์เพื่อจ่ายค่าสายตาให้กับคนไข้เพื่อทำแว่นอันหนึ่ง ก่อนจะทำเป็นเลนส์จริงๆ เราจะต้องทำการลองค่าสายตา เพราะตอนตรวจเราอยู่นิ่งๆ และการเปลี่ยนไปของค่าสายตาอาจจะทำให้ระบบฟังก์ชั่นการทำงานของระบบกล้ามเนื้อตาเปลี่ยนไป การลองค่าสายตานี้ ต้องลองกับการใช้งานจริงและควรใช้เวลาสักพักหนึ่งเพื่อให้รู้สึกถึงการใช้งานเลนส์จริงๆ และหากมึนหรือวูบวาบ เราจะได้ทำการปรับลดค่าสายตาให้เหมาะสมได้ทันที จะทำให้ได้แว่นที่ใส่สบาย
แว่นสายตาหนึ่งอัน เท่ากับดวงตาที่ทำหน้าที่การมองเห็นของคนหนึ่งคน อยากให้มองเห็นได้ดี นอกจากจะใช้เลนส์ที่ต้องมีคุณภาพดี กรอบแว่นต้องแข็งแรง บิดเบี้ยวได้ยาก พังยาก สองสิ่งนี้สามารถผลิตได้ในระบบโรงงาน แต่จะผลิตตามค่าสายตา เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดของแว่นตา หนึ่งอัน คือ ค่าสายตาที่จะใส่ลงไปบนเลนส์ เพราะสิ่งนี้คือการมองเห็นของเรา เลนส์ที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่ดี และกรอบแว่นที่ดีทนทาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นของเรา เรามองเห็นจุดนี้เป็นสิ่งสำคัญ จึงจะแนะนำสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดกับลูกค้าก่อนเสมอ และสิ่งที่สำคัญคือ ต้องไม่เกินความจำเป็น บางออพชั่นของเลนส์ ตอบสนองการใช้งานมากขึ้น ราคาจะแพงขึ้น เราจะแจ้งว่าเป็นออพชั่น ให้คนไข้เป็นคนตัดสินใจเอง
ขั้นตอนที่ 8 Ocula Health
ขั้นตอนต่อไปนี้ จะเป็นการตรวจสุขภาพดวงตาโดยรวม ว่ามีปัญหาโรคตา ที่จะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นหรือไม่ โดยการตรวจในขั้นตอนนี้มีความสำคัญ และต้องได้รับความร่วมมือจากคนไข้เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ตอนตรวจตองอยู่นิ่งๆและทำตามคำสั่งของผู้ตรวจ เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำ บางครั้งขั้นตอนนี้อาจจะถูกสลับไปเป็นขั้นตอนต้นๆ กรณีที่สงสัยว่าอาจจะมีโรคตา โดยการตรวจ จะตรวจโรคตา ของดวงตาส่วนหน้า คือ กระจกตา ความหนาของกระจกตา มุมของช่องระบายน้ำจากช่องด้านหน้าลูกตา ต้อกระจก ดูความใสของเลนส์ วัดความดันลูกตา คัดกรองต้อหิน ในกรณีนี้ทางร้านจะวัดความดันลูกตา และคำนวณร่วมกับความหนาของกระจกตา เพื่อให้ได้ค่าที่ไม่มีปัจจัยที่ทำให้ได้ค่าผิดปกติไป และหากตรวจพบ ทางเราจะแนะนำให้ท่านไปพบแพทย์เฉพาะทางโรคที่เกี่ยวข้อง และจะให้คำแนะนำอย่างละเอียด
ขั้นตอนที่ 9 การวางแผนและแนวทางการแก้ไขปัญหา
ในขั้นตอนนี้ คือการประมวลผลตรวจที่ตรวจมาทั้งหมดข้างต้น เพื่อแก้ปัญหาที่มี
บางครั้งมาด้วยปัญหาเดียว แต่มีบ้างที่พบว่าในขั้นตอนการซักประวัติ น่าจะมีปัญหาอื่นร่วมด้วย ในขั้นตอนการตรวจก็พบว่ามีอีกปัญหาตามสมมติฐาน ในขั้นตอนนี้เราจะแนะนำและแก้ปัญหาให้ทั้งหมดในทีเดียว และนัดให้กลับมาเพื่อทดสอบดูว่าปัญหาได้ถูกแก้ไปหมดแล้วหรือยัง การนัดหมายให้กลับมาตรวจซ้ำนั้นถือว่ามีความสำคัญ เพราะต้องตรวจสอบว่าการแก้ปัญหานั้น เรียบร้อยดีแล้วหรือยัง
โดยเฉพาะในเด็ก การนัดตรวจใหม่ใน 3 – 6 เดือนคือต้องการตรวจดูว่าสายตามีการเพิ่มแบบรวดเร็วหรือไม่ ควรแนะนำให้ใช้เลนส์ควบคุมสายตาหรือยัง เพื่อป้องกันการเพิ่มของสายตาในเด็ก