Menu Close

Myopia Control

Zeiss

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีผลวิจัยว่าในปี 2050 จะมีประชากรที่มีสายตาสั้นถึง 50% ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยสาเหตุของสายตาสั้นนั้นมีหลายสาเหตุอาจะเกิดจาก

 

  • กระจกตามีกำลังหักเหมากกว่าปกติ
  • เลนส์ตามีกำลังหักเหมากกว่าปกติ
  • ความยาวลูกตามากกว่าปกติ

จากทุกสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้แสงที่ตกก่อนถึงจอรับภาพ ส่งผลให้เกิดอาการมองไกลไม่ชัด แต่ยังคงมองใกล้ได้ดีอยู่ ปัญหาสายตาสั้น หากเกิดในวัยเด็ก จะมีโอกาสเป็นสายตาสั้นมากขึ้น เนื่องการในเด็กมีการพัฒนาความยาวกระบอกตาไปได้อีกเรื่อยๆ เนื่องจากร่างกายยังมีการเจริญเติบโต ทำให้อาการสายตาสั้นเป็นไปในทางที่เป็นสายตาสั้นเพิ่ม หากเป็นสายตาสั้นมากๆ อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้ เช่น จอประสาทตาหลุดลอก หรือ ต้อหิน ซึ่งอาจจะทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้

สาเหตุที่ทำให้สายตาสั้นเพิ่ม มีอยู่ สอง สมมติฐาน

 1 เกิดจาก Hyperopia Defocus at Peripheral Retina ซึ่งเกิดตามธรรมชาติของเลนส์ เวลาแสงบริเวณรอบๆ ตกไม่ตรงจอประสาทตา ร่างกายจะมีกลไกปรับให้ลูกตาขยายขนาดออกไปเพื่อให้แสงตกตรง ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มของความยาวลูกตา เป็นผลทำให้เกิดสายตาสั้นเพิ่ม

 

 2 เกิดจาก เมื่อเวลาเรามองใกล้ เลนส์จะมีการโป่งตัวออกเป็นเลนส์นูนมากขึ้น เมื่อโป่งออกทำให้ไปดันวุ้นตาด้านหลัง และวุ้นตาไปดันจอตา ทำให้เกิดแรงดันภายในลูกตาเพิ่ม และกระตุ้นให้ลูกตาขยาย ความยาวลูกตาเพิ่ม และเกิดการเพิ่มของสายตาสั้น

การควบคุมสายตาสั้นทำได้หลายวิธี เช่น

 

  • การใช้คอนแทคเลนส์กดตา(Ortho-K lens)
  • การใช้คอนแทคเลนส์แบบ Multifocal
  • การใช้ยาหยอด Low dose Atropine
  • และการใช้เลนส์แว่นตา

การใช้คอนแทคเลนส์กดตา(Ortho-K lens)

 

     เป็นแก้ไขภาวะสายตาสั้นชั่วคราว โดยการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งระหว่างการนอนเพื่อปรับลดกำลังหักเหของกระจกตาให้ลดลง จะช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น ซึ่ง ortho-k lens จะต้องถูกออกแบบมาสำหรับสำหรับรูปร่างของกระจกตกเฉพาะบุคคล การกดตามีผลพลอยได้ที่ทำให้ ภาพที่เกิดบริเวณ Peripheral Retina ไม่เกิดเป็น Hyperopia Defocus ซึ่งจะลดอัตราการเพิ่มของสายตาสั้นได้ แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องอาการระคายเคือง หรือการติดเชื้อที่กระจกตา

การใช้คอนแทคเลนส์แบบ Multifocal

    เป็นการใช้การลดการเพ่งเพราะคอนแทคเลนส์ชนิด Multifocal มีการออกแบบให้ตรงกลางของเลนส์มีค่าสายตาที่เป็นบวก เมื่อกลไกการมองใกล้เกิดขึ้น จะทำให้ไม่จำเป็นต้องเพ่ง แต่การใช้คอนแทคเลนส์ชนิด Multifocal ค่อนข้าง specific และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจ่ายโดยนักทัศนมาตร เพราะต้องตรวจละเอียดในตาทั้งสองข้าง รวมถึงต้องคำนึงปัจจัยอื่นเมื่อไม่เกิดการเพ่งด้วย 

การใช้ยาหยอด Low dose Atropine

 

   เป็นวิธีควบคุมสายตาสั้นที่ใช้มานานแล้ว ยาหยอด atropine เป็นยาหยอดขยายม่านตา ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณที่ทำหน้าที่ควบคุมการเพ่ง ทำให้กลไกการเพ่งหยุดทำงานชั่วคราว แต่จะส่งผลทำให้การมองเห็นมัวลงในทุกระยะ ไม่ว่าจะมองไกล หรือมองใกล้ เป็นหนึ่งวิธีที่ไม่ค่อยใช้เพราะจะทำให้การเรียนรู้ลดลง เพราะไม่สามารถใช้สายตาได้ตามที่ต้องการ และที่ใช้จะเป็น Low dose Atropine ซึ่งจะมีผลน้อยๆ 

 

การใช้เลนส์แว่นตา แบบที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมสายตาสั้น Zeiss Myovision Pro และ Zeiss Myovision Kids

 

 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสายตามีสมมติฐานอยู่สองแบบตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น กลไกลการทำงานเลนส์ควบคุมสายตาสั้นจึงถูกออกแบบตามสมมติฐาน

 

Zeiss Myovision Pro ใช้สมมติฐานแบบแรกในการออกแบบเลนส์ (1 เกิดจาก Hyperopia Defocus at Peripheral Retina ซึ่งเกิดตามธรรมชาติของเลนส์ เวลาแสงบริเวณรอบๆ ตกไม่ตรงจอประสาทตา ร่างกายจะมีกลไกปรับให้ลูกตาขยายขนาดออกไปเพื่อให้แสงตกตรง ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มของความยาวลูกตา เป็นผลทำให้เกิดสายตาสั้นเพิ่มนำมาผลิตเลนส์) เลนส์ควบคุมสายตาสั้นแบบนี้ จึงออกแบบให้ บริเวณขอบมีค่าสายตาคนละแบบกับตรงกลางเลนส์ เพื่อลด Hyperopia Defocus at Peripheral Retina ควบคุมให้แสงตกลงบนจอประสาทตา เพื่อลดการปรับขนาดของกระบอกตา ช่วยในการชะลอการเกิดสายตาสั้นเพิ่มในเด็กได้

 

Zeiss Myovision Kids ใช้สมมติฐานแบบที่สองในการออกแบบเลนส์ คือจะคำนึงถึงเรื่องการเพ่ง (2 เกิดจาก เมื่อเวลาเรามองใกล้ เลนส์จะมีการโป่งตัวออกเป็นเลนส์นูนมากขึ้น เมื่อโป่งออกทำให้ไปดันวุ้นตาด้านหลัง และวุ้นตาไปดันจอตา ทำให้เกิดแรงดันภายในลูกตาเพิ่ม และกระตุ้นให้ลูกตาขยาย ความยาวลูกตาเพิ่ม และเกิดการเพิ่มของสายตาสั้น) เลนส์ควบคุมสายตาสั้นแบบที่สอง จึงออกแบบมาเพื่อลดการเพ่งในระยะใกล้ โดยใช้หลักการไล่ระดับค่าสายตาให้ค่อยๆมีสายตาสั้นลดลงเพื่อลดการเพ่ง ที่ระยะใกล้ เพื่อช่วยให้เลนส์ตาไม่ต้องโป่งขึ้น  หลีกเลี่ยงการเกิดแรงดันในลูกตา ทำให้ลดปัจจัยที่จะทำให้ดวงตาขยาย และสามารถชะลอสายตาสั้นในเด็กได้

อย่างไรก็ตาม การใช้เลนส์ควบคุมสายตาสั้น เป็นการทำให้สายตาไม่สั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ควรทำควบคู่ไปกับการควบคุมพฤติกรรมการใช้งานของเด็ก เช่นการใช้สมาร์ทโฟน การอ่านหนังสือ ให้ไม่เกินครั้งละ 50 นาที และการเพิ่มอาจจะยังคงมีการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นอยู่ เพียงแต่จะเพิ่มขึ้นทีละน้อยๆแทน เลนส์ทั้งสองแบบมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือชะลอสายตาสั้นในเด็ก แต่หลักการแตกต่างกัน การพิจารณาจ่ายเลนส์ควบคุมสายตาสั้นจึงจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของนักทัศมาตรศาสตร์ เนื่องจากการใช้เลนส์ชนิดนี้อาจส่งผลต่อระบบการรวมภาพของทั้งสองตา (Binocular function)

การเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในผู้ใหญ่ กลไกการเพิ่มเป็นคนละแบบกับเด็ก การควบใช้ต่างวิธีออกไป นักทัศนมาตรสามารถให้คำแนะนำ หลังจากการตรวจครบทุกขั้นตอนแล้ว และหากพบปัญหาที่กระตุ้นให้เกิดสายตาสั้น จะแนะนำให้แก้ก่อนครับ 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *